“ภูมิสถาปนิก” ผู้ที่เสกความงามของทัศนียภาพภายนอกให้เชื่อมต่อเข้ากับจิตใจของผู้ที่อยู่อาศัยภายใน… จากบทความที่ผ่านมาเราคงคุ้นเคยกับหน้าที่และการทำงานของสถาปนิกกันแล้ว แต่ยังไม่คุ้นชินกับคำว่าภูมิสถาปนิกเสียเท่าไรนัก ซึ่งภูมิสถาปนิกหรือที่เรียกกันว่า Landscape Architect เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการออกแบบสถานที่ต่างๆไม่แพ้สถาปนิกเลย โดยขอบเขตงานของภูมิสถาปนิกคืองานภายนอกอาคารทั้งหมดเลยค่ะ หลายคนยังมีความเข้าใจผิดอยู่ว่าภูมิสถาปนิกนั้นออกแบบตกแต่งสวนเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วงานของภูมิสถาปนิกนั้นเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการออกแบบคือการวางผังโครงการต่างๆไปพร้อมกับสถาปนิก โดยความเชี่ยวชาญของภูมิสถาปนิกจะเป็นงานภายนอกอาคารไม่เพียงแค่เรื่องของสวน หรือพรรณไม้เท่านั้น ยังรวมถึงงานวางผังเส้นทางเดิน ทางสัญจร การออกแบบตกแต่งพื้นที่ด้านหน้าอาคาร พื้นที่ส่วนกลางด้านนอก เช่น สระว่ายน้ำ, ลานจอดรถ, ลานกีฬา, พื้นที่จัดกิจกรรม, บ่อน้ำ, การระบายน้ำ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่างานพื้นที่สีเขียวภูมิสถาปนิกก็เป็นผู้ที่มีความชำนาญเช่นกัน การทำงานของภูมิสถาปนิกถ้าให้กล่าวถึงให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คงจะเป็นการออกแบบผสมผสานพื้นที่ Softscape และ Hardscape เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดบรรยากาศและการใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละบริบทนั่นเองค่ะ Softscape: พื้นที่พืชพรรณไม้ พื้นหญ้า ทราย หรือพื้นที่ดิน รวมไปถึงการรดน้ำ การระบายน้ำจากผิวดินจากต้นไม้ และจากฝน Hardscape: พื้นที่วัสดุหรือโครงสร้างต่างๆ เช่น ทางเดิน ศาลา สระน้ำ รั้ว หรือรูปปั้นประดับ การเลือกพรรณไม้ในแต่ละงานจะมาจาก Concept ที่แตกต่างกันไป อย่างงานรีสอร์ท สปา อาจจะต้องการต้นไม้ที่ส่งกลิ่นหอม หรืองานโรงแรมที่เน้นธรรมชาติ ต้องการพื้นที่ป่าโปร่งให้สามารถเดินชมวิวได้ ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่าภูมิสถาปนิกนั้นมีความสำคัญในพื้นที่ที่ต้องการบรรยากาศภายนอกอยู่มากทีเดียวค่ะ การออกแบบให้ตรงตามบรรยากาศที่ต้องการ หรือจะปล่อยปละละเลยนั้น ทำให้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่อยู่อาศัยนั้นแตกต่างกันไป และอาจทำให้มูลค่าของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงได้เลย
Read More
Archives for News
มัณฑนากรคือใคร?
“มัณฑนากร” ผู้ที่แต่งแต้มสีสันให้เชื่อมโยงกับอารมณ์ของผู้อยู่อาศัย.. ถึงคราวที่เราจะมาทำความรู้จักกับผู้ที่ออกแบบรายละเอียดภายในอย่าง มัณฑนากร หรือ นักออกแบบภายใน (Interior Designer) กันบ้างค่ะ พูดถึงนักออกแบบภายในหลายๆคนคงคุ้นเคยกันดี เพราะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากกว่าสาขาอื่นๆ หรือว่าง่ายๆคือใกล้ตัวขึ้นนั่นเองค่ะ งานของนักออกแบบภายในมีหลากหลาย แต่ถ้าจะให้พูดถึงคำจำกัดความสั้นๆ ก็คือคนที่ดูแลออกแบบพื้นที่ภายในทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านพักอาศัย โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร หอศิลป์ และการจัดพื้นที่แสดงสินค้า การจัดพื้นที่กิจกรรมในเทศกาลต่างๆ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการออกแบบตกแต่งภายในนอกเหนือไปจากสถานที่อย่างการออกแบบตกแต่งรถขายอาหาร (Food Truck) ในเรือ หรือในเครื่องบิน เป็นต้น ในบริษัทที่รับออกแบบทั้งงานภายนอก (Architecture) และภายใน (Interior) การออกแบบภายในสามารถเริ่มไปพร้อมๆกับงานสถาปัตยกรรมด้านนอกได้เลยค่ะ แต่ถ้าคนที่ต้องการรีโนเวท หรือต้องการนักออกแบบภายในบริษัทอื่น ทางนักออกแบบภายในจะเริ่มงานหลังจากสรุปแบบภายนอกหรือก่อสร้างไปแล้วประมาณ 70 % เนื่องจากจะต้องทราบตำแหน่งช่องเปิด ช่องแสง และระยะต่างๆ ของพื้นที่ให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน ซึ่งลักษณะของงานออกแบบภายในจะเหมือนกับงานสถาปัตย์เลย ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยเพื่อทราบความต้องการของลูกค้าก่อนจะลงมือออกแบบ และควบคุมงบประมาณให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ การออกแบบภายในจะลงลึกไปถึงรายละเอียด (Details) มากกว่างานสถาปัตยกรรม เพราะงานภายในนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้อยู่อาศัยจะต้องสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ สายตา กลิ่น และเสียงในแต่ละสถานที่อยู่ตลอดเวลาที่อยู่อาศัย ทำให้งานออกแบบภายในส่งผลต่อความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยโดยตรง เพื่อนนักออกแบบภายในได้อุปมาไว้ว่า ถ้าเปรียบเทียบงานสถาปัตยกรรมเป็นการออกแบบสร้างผืนผ้าใบที่ดีที่สุด งานออกแบบภายในคือผู้ที่ลงสีสันให้สวยงามนั่นเอง
Read More
สถาปนิกผังเมือง?
“สถาปนิกผังเมือง” นักพัฒนาพื้นที่สาธารณะผู้ที่สะท้อนตัวตนของผู้คนออกมาสู่ความเป็นเมือง.. คำว่า สถาปนิกผังเมือง หรือ Urban Architects เป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกันนักในประเทศไทย เนื่องจากเป็นอาชีพที่ถือว่าค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศของเราค่ะ ปัจจุบันในเมืองมีคนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ สถาปนิกผังเมืองจึงมีบทบาทหน้าที่มากขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยภายในเมืองให้ดีที่สุด ขอบเขตของงานผังเมืองจะเริ่มตั้งแต่การวางแผนเชิงนโยบาย สะท้อนนโยบายออกมาปรับเป็นแผนการพัฒนาเมืองทางด้านกายภาพ และทำแผนเชิงกายภาพนั้นให้เป็นความจริงขึ้นมา สามารถสรุปงานและกระบวนการของสถาปนิกผังเมืองเป็นข้อๆได้ ดังนี้ Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพสังคม เศรษฐกิจ ในพื้นที่ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาสภาพเมืองในปัจจุบันจนถึงในอนาคตเพื่อดู และวิเคราะห์ว่าเมืองควรจะพัฒนาไปในทิศทางไหน Public Hearing คือความสามารถในการรับฟัง หรือรวมความคิดเห็นของ stakeholder สถาปนิกต้องถามความต้องการของเจ้าของบ้านฉันใด นักผังเมืองก็ต้องถามผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองนั้นๆเช่นกันค่ะ Spatial Design ต่อมาก็นำความต้องการของผู้คนที่อยู่ในเมือง หรือ Stakeholder มารวมกับข้อมูลที่วิเคราะห์จากขั้นตอนแรกมาออกแบบ ทั้งหมดนี้คือหน้าที่ของสถาปนิกผังเมืองที่ไม่ได้มีแค่การออกแบบได้เท่านั้น และแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาในการพัฒนาเมืองรวมๆเป็นระยะเวลาที่นาน 10 ปี 20 ปีขึ้นไป เพราะต้องเข้าใจทั้งผู้อยู่อาศัยและแนวโน้มการอยู่อาศัยในอนาคตของคนหลายคน ถ้าลองสังเกตดูงานของนักผังเมืองก็เหมือนกับการออกแบบบ้านให้ผู้อยู่อาศัย เพียงแต่ออกแบบในส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะภายในพื้นที่ของ ‘เมือง’ นั่นเอง
Read More
Happy New Year 2021
สวัสดีวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2021 นะคะ.. ส่งท้ายปีกันด้วยภาพบรรยากาศกิจกรรม Nppn Company Outing Trip 2020 เมื่อวันที่ 24 – 27 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ Thara Hidden Campอำเภอเขอค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ พักผ่อนสบายๆ กับอากาศเย็นๆ 18 องศา บนแคมป์ปิ้งริมอ่างเก็บน้ำบรรยากาศอบอุ่น มีกิจกรรมจับฉลากแลกของรางวัลกันในงบประมาณ 555 บาทพอดีๆ ไม่ขาดไม่เกิน พร้อมเครื่องดื่มและหมูกระทะ ให้ Partner ทุกคนมีความสุขกันในช่วงวันคริสต์มาส ได้แวะร้านคาเฟ่ ชิมกาแฟและดูสถาปัตยกรรมในพื้นที่ และเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ทางเรา Nppn Company ขอขอบคุณทุกการติดตาม ขอให้ทุกท่านมีความสุข และร่วมต้อนรับปีใหม่ เปิดรับสิ่งดีๆไปพร้อมกับเรานะคะ ติดตามเราได้ที่ : https://www.nppn-company.com/ https://www.facebook.com/architiss/ ขอขอบคุณสถานที่ : https://www.facebook.com/Thara-Hidden-Camp-100639755171984/
Read More
น้ำท่วมเรื้อรังแก้ได้ด้วย Opportunistic Adaptation
น้ำท่วมเรื้อรังแก้ได้ด้วย Opportunistic Adaptation ปัญหาอุทกภัย เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติหนึ่งที่ประเทศไทยจำต้องรับมืออยู่เสมอ และถูกมองว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่มักสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ และด้วยรูปแบบการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ที่หลายพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ (เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ตอนกลางของประเทศไทย หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย) พื้นที่เหล่านี้ต่างได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมอยู่อย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับในปัจจุบันเกิดวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ท้าทายต่อพื้นที่เมืองและปริมณฑล วิถีชีวิตของประชากรหลายสิบล้านคนได้รับความเดือดร้อนทั้งในมิติทางสังคมและในเชิงเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความพยายามในการรับมือต่อปัญหาทั้งในระดับของภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อรับมือและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขึ้นมาโดยตลอด ในวันนี้ทางเพจ NPPN จะมานำเสนอทฤษฎี Opportunistic Adaptation ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ใช้สำหรับการรับมือต่อปัญหาการจัดการน้ำในเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน อะไรคือ Opportunistic Adaptation ? เมื่อเรามาพูดถึงเมือง เราจะพบว่าเมืองนั้นประกอบสร้างขึ้นมาจากหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องยึดโยงซึ่งกันและกัน องค์ประกอบของเมืองที่ไม่ว่าจะเป็นตึกแถว อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน บ้านจัดสรร ถนน สวนสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ แต่ละองค์ประกอบของเมืองนั้นล้วนแล้วแต่มีอายุขัย หรือมีเงื่อนเวลาเฉพาะตัวของตนเอง (ตามมาตรฐานการประเมินอายุเฉลี่ยของสิ่งปลูกสร้าง) ไม่ต่างอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีลมหายใจ ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าโดยพื้นฐานสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นองค์ประกอบต่างๆของเมืองที่ดำรงอยู่ยึดโยงกันนั้นมีช่วงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือถูกสร้างใหม่ขึ้นทดแทนแล้ว ก็นำมาซึ่งทฤษฎีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ในการที่จะบริหารจัดการกับสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ชุมชน ตามขนาดที่สัมพันธ์กับความต้องการวางแผนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงรับมือกับปัญหาในอนาคต เช่น ในระดับของหมู่บ้าน ระดับของชุมชน ระดับของเขต หรือระดับเทศบาล ด้วยโมเดลลักษณะนี้หากเรามีการจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานที่เป็นระบบ และมีการสื่อสารระหว่างกันระหว่างสมาชิกในพื้นที่ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะส่งผลให้เกิดศักยภาพในการสร้างการรับมือในเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นผลดีต่อชุมชน ไปจนถึงในระดับเมือง Opportunistic Adaptation หัวใจสำคัญคือความยืดหยุ่นในการปรับตัว หัวใจสำคัญของทฤษฎี Opportunistic Adaptation คือการให้ความสำคัญต่อความยืดหยุ่นในการสร้างข้อตกลง และการตัดสินใจร่วมกันของชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ตรงจุดและเหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยน ที่จำเป็นต้องตอบสนองต่อความท้าทายที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคต เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากการให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับล่างขึ้นบน (bottom-up approach) เพราะการแก้ปัญหาของเมืองในอดีตมักเกิดขึ้นมาจากคนระดับบน (top-down approach) เช่น ภาครัฐผู้ออกนโยบายที่จัดสรรงบประมาณลงไปในพื้นที่ และมักทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากขาดความยืดหยุ่นภายหลังจากการดำเนินนโยบาย ทั้งอาจเกิดจากการขาดแคลนข้อมูลในระดับพื้นที่ การขาดความเข้าใจต่อสถานภาพความรู้ และเมื่อตัดสินใจก่อสร้างโครงการใดๆลงไปก็อาจส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยา และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตั้งในระยะยาวที่ไม่ยืดหยุ่นต่อการปรับตัวในอนาคต ดังนั้นเมื่อแนวคิด Opportunistic Adaptation วางอยู่บนความแม่นยำของการมีฐานข้อมูลองค์ประกอบของเมืองและเมื่อมีฐานข้อมูลของอายุการใช้งานอาคารที่ครอบคลุมแล้วจึงสามารถนำมาซึ่งการสร้างข้อตกลงของการปรับปรุงองค์ประกอบเมืองในเชิงนโยบาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่น องค์ประกอบในการพิจารณา องค์ประกอบสำคัญในการใช้พิจารณา เพื่อสร้างโมเดลในการวางแผนตามทฤษฎี Opportunistic Adaptation จำเป็นต้องมี การวิเคราะห์ช่วงเวลา
Read More
Return of NPPN
Return of NPPN หลังจากเพจ NPPN ขาดความเคลื่อนไหวไปร่วมครึ่งปี ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เราจะกลับมา ทำหน้าที่สนทนา สื่อสาร สาระสำคัญ เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมและงานออกแบบกับมิตรสหายในพื้นที่สังคมออนไลน์ทุกท่าน เรามีความเต็มใจอย่างยิ่งที่จะขอเรียนเชิญรับชมเนื้อหา บทความ และโครงการที่มีคุณภาพ ซึ่งเราวาดหวังสร้างให้เกิด “พื้นที่แห่งอนาคต” ตามปรัชญาที่เรายึดถือ เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอการออกแบบเชิงทดลองในมิติที่แตกต่าง ตามความเชี่ยวชาญที่เราได้สั่งสมประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ในการจัดการน้ำ/น้ำท่วม การทำความเข้าใจและทำนายทิศทางแนวโน้มของวิถีชีวิตในโลกเสมือน (Metaverse) รวมถึงการบูรณาการความรู้ทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมเพื่อต่อยอดการออกแบบร่วมสมัย ทุกประเด็นล้วนอยู่บนบทสนทนาที่เราเฝ้าตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบอยู่เสมอ ก้าวต่อไปของเรา ? ภายหลังจากการประชุมทีมงาน ถึงย่างก้าวต่อไปที่พวกเราจะร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคอันท้าทาย เพื่อนำเสนอถึงองค์ความรู้และประสบการณ์ที่มีต่อสาธารณชน ว่าเราจะทำอะไรต่อไป เป้าหมายระยะยาวของเราคือแห่งหนตำบลไหน และเราจะร่วมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่มีระหว่างหนทางอันยาวไกลนี้ไปอย่างไร นำมาซึ่งแผนปฏิบัติการในการผลิตผลงาน สิ่งตีพิมพ์ หนังสือ เพื่อใช้เผยแพร่องค์ความรู้ แนวความคิดและทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนการรวบรวมความคิด การแก้ปัญหาที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพราะเราเชื่อมั่นเสมอว่า การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกในอนาคต ล้วนจำเป็นต้องวางอยู่บนฐานความรู้ ในห้องสมุดทางความคิดที่เราทุกคนต้องร่วมกันสร้างเสริม เติมเต็มบทสนทนาระหว่างกัน ฝากทุกคนช่วยกันติดตามเนื้อหาจากเราในโอกาสต่อๆไปนะครับ ขอบคุณครับ
Read More